GenDHL
9
0
15 พฤศจิกายน 2565
ปัจจุบัน เดือนมิถุนายนของทุกปี ได้กลายมาเป็นที่รู้จักในชื่อ “Pride Month” ซึ่งเป็นเดือนที่เต็มไปด้วยความคึกคัก และสีสันของการเดินขบวนรณรงค์ เพื่อเรียกร้องการยอมรับ และความเท่าเทียมทางเพศ ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ เพื่อสื่อถึงการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม
เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ขอถือโอกาสนี้ แบ่งปันข้อมูลความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ควรทำ หากมีคนใกล้ตัว หรือสมาชิกในครอบครัว เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ
LGBTQ+ คืออะไร?
คือกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยตัวอักษรภาษาอังกฤษแต่ละตัว เป็นตัวแทนของความหลากหลายทางเพศแบบหนึ่ง โดยเพศวิถีใน LGBTQ+ (แอล-จี-บี-ที-คิว-พลัส) มีดังนี้:
L – Lesbian (เลสเบี้ยน): ผู้หญิงที่รักผู้หญิง
G – Gay (เกย์): ผู้ชายที่รักผู้ชาย
B – Bisexual (ไบเซ็กชวล): ชายหรือหญิงที่มีความรักกับเพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้ามก็ได้
T – Transgender (ทรานส์เจนเดอร์): ผู้ที่เปลี่ยนแปลงเพศสภาพของตน ไปเป็นเพศตรงข้าม
Q – Queer (เควียร์): คนที่ไม่จำกัดตนเองเป็นเพศใด ๆ และไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ
และตัวย่อนี้ ยังรวมถึงบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอื่น ๆ (+) อีกด้วย
ความหลากหลายทางเพศ “ไม่ใช่โรค หรือความผิดปกติ”
สมัยก่อนมีการมองว่า การรักใคร่ชอบพอในเพศเดียวกัน เป็นสิ่งที่ผิดปกติ มีเอกสารระบุว่า “กะเทย” คือ ผู้มีความผิดปกติทางจิต ซึ่งความคิดเหล่านี้ล้วนถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรม หรือบรรทัดฐานทางสังคมในยุคนั้น ๆ เป็นเหตุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ทำให้คนที่มีความหลากหลายทางเพศในอดีต ไม่ได้รับสิทธิ และการยอมรับจากสังคมเท่าที่พวกเขาควรจะได้รับ
ปัจจุบัน ในทางการแพทย์ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ “ไม่ได้เป็นโรค” หรือ “มีความผิดปกติทางจิตใจ” แต่อย่างใด โดยการเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ อาจเกิดขึ้นจากองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งภายในร่างกาย เช่น ระดับฮอร์โมน สารเคมีในสมอง และภายนอกร่างกาย เช่น รูปแบบการเลี้ยงดู วัฒนธรรม หรือพื้นฐานทางสังคมที่หล่อหลอมขัดเกลาบุคคล “ความหลากหลายทางเพศ จึงไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใด”
ยอมรับ-ปฏิบัติต่อบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ อย่างถูกต้องและเท่าเทียม
ช่วงอายุ 5 – 8 เดือน ลูกจะเริ่มจำหน้าพ่อแม่ได้รับรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร แม้จะเห็นเพียงบางส่วนก็ตาม เขาจะรับรู้ว่าวัตถุอยู่ห่างจากตัวเองมากแค่ไหน มองเห็นโลกแบบสามมิติ มองเห็นสีได้มากขึ้นและจดจำสิ่งต่าง ๆ แสดงอารมณ์ดีใจ ขัดใจ หันตามเสียงเรียก เริ่มทำเสียงพยางค์เดียวได้เช่น หม่ำ ป๊ะ เมื่อมีของตกลงพื้นสามารถมองตามได้ คว้าของมือเดียว สลับมือถือของได้ เริ่มพลิกคว่ำพลิกหงาย จะเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น อยากรู้อยากเห็น อยากจับของทุกอย่างเด็กวัยนี้จะเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้น ลูกอาจมีอาการคันเหงือกและหยิบจับสิ่งของเข้าปากมากขึ้นกว่าเดิม
ไม่เปรียบเทียบเรื่องเพศของสมาชิกในครอบครัวกับใคร และควรส่งเสริมการรู้คุณค่าในตนเอง
เพิ่มการสื่อสารในเชิงบวก พูดคุย เปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้บอกเล่าเรื่องราว
ใส่ใจความรู้สึก ให้ความสำคัญ และชื่นชมในสิ่งที่สมาชิกในครอบครัวทำได้
สังเกตพฤติกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ เนื่องจากอาจต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย และทางด้านจิตใจ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าตนเองรู้สึกแปลกแยกจากสังคม หรือมีพฤติกรรมการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม ใช้ความรุนแรง มีอาการซึมเศร้า เป็นต้น
ปฏิบัติต่อบุคคลในครอบครัว โดยให้เกียรติความหลากหลายทางเพศ “ที่บุคคลนั้นเป็นผู้เลือก”
เคารพสิทธิส่วนบุคคล ไม่ถามถึง รสนิยมทางเพศ ของสมาชิกในครอบครัว
ไม่ตัดสินเพศวิถีจากรูปลักษณ์ภายนอก และการแสดงออกของสมาชิกในครอบครัว
ร่วมผลักดันการยอมรับ LGBTQ+ ในสังคม
ปีนี้ จะมีการจัดงานไพรด์ พาเหรด ขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนได้แสดงออกถึงการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย และเป็นการสนับสนุนและเคารพความหลากหลายของเพศวิถี ในชื่องาน “บางกอก นฤมิตไพรด์” ซึ่งจะมีการเดินขบวนพาเหรดตั้งแต่หน้าวัดแขกมุ่งหน้าสู่ถนนสีลม ตั้งแต่เวลา 15:00 – 19:00 น. ในวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้
https://www.princsuvarnabhumi.com/news/-LGBTQ
คุยกับ Gen AI