วัยรุ่น LGBTQ กับความเสี่ยงทำร้ายตัวเอง
วัยรุ่น LGBTQ กับความเสี่ยงทำร้ายตัวเอง ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า วัยรุ่นมีปัญหาโรคซึมเศร้า และในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีเด็กคิดฆ่าตัวตาย 6% ซึ่งการทำร้ายตัวเองอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย และมีงานวิจัยที่พบว่าวัยรุ่น LGBTQ หรือวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศ มีอัตราเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า วัยรุ่นมีปัญหาโรคซึมเศร้า และในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีเด็กคิดฆ่าตัวตาย 6% ซึ่งการทำร้ายตัวเองอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย และมีงานวิจัยที่พบว่าวัยรุ่น LGBTQ หรือวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศ มีอัตราเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ JAMA Pediatrics ให้ข้อมูลว่า มีจำนวนที่น่าตกใจของวัยรุ่นที่ทำร้ายตัวเอง แต่วัยรุ่นที่เป็นไบเซ็กชวล อาจมีแนวโน้มว่าจะทำร้ายตัวเองมากกว่าถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มสเตรท (straight) หรือวัยรุ่นที่รักเพศตรงข้าม โดยงานวิจัยให้ข้อมูลว่า วัยรุ่นกลุ่มเฮเตอโรเซ็กชวล หรือกลุ่มที่รักเพศตรงข้ามระหว่าง 10%-20% มีพฤติกรรมที่เป็นอันตราย แต่วัยรุ่นกลุ่ม LGBTQ หรือกลุ่มที่รักเพศเดียวกัน 38%-53% มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ผู้วิจัยกล่าวว่า อัตราการบาดเจ็บจากการพยายามฆ่าตัวตาย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่วัยรุ่น LGBTQ และในขณะที่อัตราการทำร้ายตัวเองลดลง ในวัยรุ่นกลุ่มเฮเตอโรเซ็กชวล ในช่วงปี 2005-2007 แต่อัตราการทำร้ายตัวเองของกลุ่มวัยรุ่น LGBTQ ไม่ได้ลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว ตัวอย่างการทำร้ายตัวเองที่พบบ่อย ได้แก่ การกินยาเกินขนาด การต่อยตีหรือตบตีตัวเอง การกรีดแขน การดึงผมตัวเอง หรือหยิกตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด หากสังเกตเห็นการทำร้ายตัวเอง ควรพาบุคคลนั้นไปพบคุณหมอทันที เพราะจากสถิติพบว่าการฆ่าตัวตาย เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของวัยรุ่น และการพยายามทำร้ายตัวเองเพื่อฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นประมาณ 13%-45% โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่เป็น LGBTQ ดังนั้นจึงควรใส่ใจคนรอบข้าง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป นอกจากนี้คุณอาจปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้ วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง ป้องกันได้อย่างไรใส่ใจและสังเกตสัญญาณบางอย่าง ควรใส่ใจเมื่อสังเกตเห็นว่า วัยรุ่นอารมณ์เสียตลอดเวลา เริ่มปลีกตัวออกจากสังคม หรือรู้สึกหงุดหงิด นอกจากนี้การทำร้ายตัวเองมักจะเกิดขึ้นโดยที่คนอื่นไม่รู้ แต่จะมีสัญญาณบางอย่าง เช่น ไม่สนใจความปลอดภัยของตัวเอง และทำกิจกรรมที่อันตรายต่อชีวิต เป็นต้นรับฟังปัญหา หากพบว่าวัยรุ่นมีสัญญาณของการทำร้ายตัวเอง ควรพูดคุยอย่างเปิดใจ และรับฟังปัญหาของเขาด้วยความเข้าใจ รวมถึงควรพาวัยรุ่นไปปรึกษาแพทย์ซื้ออุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากเกิดเหตุฉุกเฉินควรเรียนรู้วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น ก่อนนำส่งโรงพยาบาลมองหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น หากมีปัญหาครอบครัว ควรมองหาความช่วยเหลือทางอื่นด้วย เช่น ญาติหรือเพื่อนสนิทในกรณีที่คุณทำร้ายตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาอย่างเหมาะสม https://empowerliving.doctor.or.th/case/1052
Tag:สุขภาพจิต, การบูลลี่, บุคลิกภาพ,
เยาวชน LGBTQ กับความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพจิต
เยาวชน LGBTQ กับความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพจิต เรามักได้ยินคนพูดว่า ชอบอยู่กับเพื่อนกะเทย กะเทยตลกดี เรียกเสียงหัวเราะได้ ทั้งที่คนที่แสดงออกว่าเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวตลก หรือต้องตลกเพื่อให้อยู่ในสังคมได้ หรือการเหมารวมอื่นๆ เช่น คิดว่าทอมดี้ทุกคนชอบความรุนแรง เรามักได้ยินคนพูดว่า ชอบอยู่กับเพื่อนกะเทย กะเทยตลกดี เรียกเสียงหัวเราะได้ ทั้งที่คนที่แสดงออกว่าเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวตลก หรือต้องตลกเพื่อให้อยู่ในสังคมได้ หรือการเหมารวมอื่นๆ เช่น คิดว่าทอมดี้ทุกคนชอบความรุนแรง กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ก็เป็นเหมือนคนทั่วไป มีบุคลิกภาพที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันมีการยอมรับในเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศมากมาย แต่สังคมเปิดกว้างให้การยอมรับและเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางเพศแล้วหรือไม่ เยาวชนกลุ่มหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ ที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จะต้องต่อสู้กับความสับสนภายในตัวเอง ว่าแท้จริงแล้วเรามีอัตลักษณ์ทางเพศแบบไหนกันแน่ พ่อแม่และเพื่อนจะยอมรับได้หรือไม่ที่เรามีรสนิยมทางเพศแบบนี้ จะรังเกียจเราหรือไม่ พวกเขายังต้องรับมือจากการปฏิบัติจากสังคมอันจะส่งผลต่อสภาพจิตใจของเยาวชนคนนั้น ซึ่ง การสำรวจของ Trevor Project พบว่า 1 ใน 3 ของเยาวชน LGBTQ ถูกคุกคามหรือถูกทำร้ายเนื่องจากอัตลักษณ์ทางเพศจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 40,000 คน พบว่า 46% ของกลุ่มตัวอย่างต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ฃครึ่งหนึ่งของเยาวชน LGBTQ เคยพยายามฆ่าตัวตาย68% ของกลุ่มตัวอย่างมีอาการของโรควิตกกังวล55 % เป็นโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ยังพบว่าเยาวชน LGBTQ ถูกไล่ออกหรือหนีออกจากบ้านเนื่องจากอัตลักษณ์ทางเพศ และยังมีปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง เมื่อเยาวชน LGBTQ มากกว่า 40% ไม่กล้าไปพบจิตแพทย์ เพราะต้องขออนุญาตจากผู้ปกครอง ซึ่งในประเทศไทย มีการยื่นขอแก้กฎหมายเพื่อเพื่อนที่มีอาการซึมเศร้า (ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา เยาวชนผู้ยื่นขอแก้กฎหมาย) เนื่องจากพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 21 วรรค 3 กำหนดว่า กรณีผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ต้องให้ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอม ซึ่งจากการร่วมประชุมเรื่องการให้บริการของจิตแพทย์กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีกับกรมสุขภาพจิต ได้ข้อสรุปว่า “คำว่า “ผู้ป่วย” ในพระราชบัญญัติสุขภาพจิต หมายถึง บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตซึ่งควรได้รับการบำบัดรักษา ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว เยาวชนที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์สามารถเข้าพบจิตแพทย์ได้โดยไม่ต้องให้ผู้ปกครองพาไป เมื่อเด็กเข้าพบจิตแพทย์แล้ว จะได้รับการบริการให้คำปรึกษา การดูแลเบื้องต้นและสามารถตรวจสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ ซึ่งคุณหมอจะประเมินในส่วนของภาวะอันตรายและเร่งด่วนในการบำบัดรักษา โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กและเก็บรักษาความลับของคนไข้เป็นสำคัญ หากจะแจ้งผู้ปกครองจะต้องแจ้งเยาวชนก่อน” https://empowerliving.doctor.or.th/case/748
Tag:สิทธิทางเพศ, การบูลลี่, สุขภาพจิต,
นักจิตวิทยาเด็กชี้กฎหมาย ‘Don’t Say Gay’ ที่ฟลอริดา ส่งผลต่อสุขภาพจิตเด็ก
นักจิตวิทยาเด็กชี้กฎหมาย ‘Don’t Say Gay’ ที่ฟลอริดา ส่งผลต่อสุขภาพจิตเด็ก แม้ว่ากระแสสนับสนุนความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ+ ในสหรัฐฯ และหลายประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ที่มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกากลับสวนทาง เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา รอน เดอซานติส (Ron Desantis) ผู้ว่าการรัฐฟลอริดาจากพรรครีพับลิกัน ลงนามรับรองกฎหมายที่ชื่อว่า ’สิทธิของผู้ปกครองในการศึกษา’ ซึ่งเป็นกฎหมายห้ามพูดถึงผู้มีความหลากหลายทางเพศในห้องเรียน โดยผู้ต่อต้านหรือคัดค้านเรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า กฎหมาย ‘ห้ามพูดว่าเกย์’ (Don’t Say Gay) กฎหมายดังกล่าวระบุว่า ไม่อนุญาตให้เขตการศึกษาส่งเสริมการเรียนการสอน หรือการอภิปรายในห้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องเพศวิถี และเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศในห้องเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 3 ไปถึง Grade 3 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นที่โตกว่าจะต้องสอนเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัย หากผู้ปกครองพบว่ามีการละเมิดและไม่เหมาะสม สามารถฟ้องร้องเขตการศึกษาได้ แม้ว่ากฎหมายฉบับนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งฝ่ายเคลื่อนไหวเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิมนุษยชน รวมไปถึงดาราและผู้มีชื่อเสียงต่างๆ จนเกิดแคมเปญที่นักเรียนหลายโรงเรียนในรัฐฟลอริดาออกมาลงถนนต่อต้าน ในชื่อแคมเปญว่า ‘พวกเราจะพูดคำว่าเกย์’ (We Say Gay) แต่ท้ายที่สุดกฎหมายฉบับนี้ก็ผ่านการรับรองและจะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายนที่จะถึงนี้ บัท ฮานลีย์ (But Hanley) นักจิตวิทยาเด็กกล่าวว่า กฎหมายที่ตีตราความหลากหลายทางเพศนั้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งปกติเด็กเหล่านี้มีแนวโน้มและความเสี่ยงถูกรังแก และการฆ่าตัวตายมากกว่าเด็กเพศหญิงและเพศชายมากอยู่แล้ว ลอรา แอนเดอร์สัน (Laura Anderson) นักจิตวิทยาเด็กและครอบครัว ผู้สนใจเรื่องความหลากหลายทางเพศกล่าวว่า เราทุกคนล้วนมีกระบวนการในการค้นหาว่าตัวเองเป็นใคร และรู้จักตัวเองได้ผ่านสมองและจิตใจว่า ท้ายที่สุดแล้วเราอยากเป็นใครและเป็นเพศไหน หรือแม้แต่ใคร หรือเพศใดก็ตามที่จะดึงดูดให้เราหลงรัก กฎหมายห้ามสอนเกี่ยวกับเรื่องความหลากหลายทางเพศเป็นกฎหมายและข้อห้ามที่จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ให้เด็กหาตัวเองไม่เจอและรู้สึกไร้ตัวตน สิ่งเหล่านี้ส่งผลเสียและไม่ปลอดภัยต่อเด็กอย่างมาก นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยให้กับเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศอีกด้วย จากผลสำรวจขององค์กรป้องกันการฆ่าตัวตายของ LGBTQ+ อย่างเทรเวอร์ โปรเจกต์ (Trevor Project) พบว่า 2 ใน 3 ของ LGBTQ+ กล่าวว่าจากการอภิปรายเกี่ยวกับกฎหมาย ห้ามพูดคำว่าเกย์ ของภาครัฐ ส่งผลต่อสุขภาพจิตของพวกเขาเป็นอย่างมาก และศูนย์สำรวจความเท่าเทียมทางเพศของสหรัฐฯ ประจำปี 2558 ยังเปิดเผยว่า 40% ของทรานส์เจนเดอร์ พยายามฆ่าตัวตายมากกว่าประชาชนทั่วไปถึง 9 เท่า สิ่งที่น่ากังวลคือ เด็กย่อมเห็นและตั้งคำถามต่อความหลากหลายทางเพศในชีวิตจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เช่นการเห็นคู่รักเกย์จับมือกัน การที่เด็กออกไปซื้อของนอกบ้านและเห็นคู่รักเพศต่างๆ สิ่งที่ไม่สามารถพูดคุยหรือถกเถียงในห้องเรียนได้ย่อมส่งผลให้เด็กคิดว่าพวกเขาก็ไม่สามารถพูดเรื่องเหล่านี้ในบ้านได้เช่นกัน และหากครอบครัวหรือพ่อแม่ยังคิดว่าประเด็นเรื่องเพศ LGBTQ+ ไม่เหมาะสมที่จะถูกพูดถึง เด็กก็จะซ่อนตัวตนที่แท้จริงของตัวเองไว้ต่อไป https://themomentum.co/gender-dontsaygay-mentalhealth/
Tag:สุขภาพจิต, การบูลลี่, สิทธิทางเพศ, เพศภาวะ, Pride,
การเปิดเผยตัวตนของLGBTQ
การเปิดเผยตัวตนของ LGBT ตั้งแต่มัธยมเป็นผลดีต่อสุขภาพจิต จากรายงานการศึกษาพบว่าคนที่เป็นเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล กะเทย และคนข้ามเพศ (LGBT) ที่แสดงออกถึงตัวตนมาตั้งแต่อยู่ในช่วงมัธยมจะโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่ปกปิด จากข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Francisco State University ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เป็น LGBT ที่เป็นคนผิวขาวและพูดภาษาสเปนมีอายุระหว่าง 21-25 ปี จำนวน 245 คน พบว่าพวกเขาล้วนเคยถูกรังแกในสมัยอยู่ชั้นมัธยมไม่ว่าพวกเขาจะแสดงออกหรือไม่แสดงออกก็ตาม ส่วนในบรรดาผู้ที่เปิดเผยว่าเป็น LGBT ตั้งแต่มัธยมจะมีความเคารพนับถือตัวเองและมีความสุขในชีวิตมากกว่าคนที่ไม่เปิดเผย และขณะเดียวกันพวกที่เปิดเผยจะมีภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าพวกที่พยายามปกปิดตัวเอง บางครั้งผู้ใหญ่มักจะให้คำแนะนำแก่เยาวชนที่เป็น LGBT ว่าให้ปกปิดตัวเองไว้เพื่อป้องกันการถูกกลั่นแกล้งหรือทำร้าย แต่จากผลการศึกษาพบว่าคำแนะนำดังกล่าวอาจไม่ใช่คำแนะนำที่ดีที่สุด มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ปี 2559 https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/6deccb5d-4ef9-e711-80de-00155d84fa40
Tag:สุขภาพจิต,
สิ่งที่พ่อแม่มักกังวลเมื่อรู้ว่าลูกเป็นเด็กเพศหลากหลาย
สิ่งที่พ่อแม่มักกังวลเมื่อรู้ว่าลูกเป็นเด็กเพศหลากหลาย หลายครั้งที่พ่อแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมบางอย่างของลูกและกังวลว่าลูกจะเป็นเพศหลากหลาย เช่น เด็กผู้ชายชอบแต่งหน้า เอาผ้าเช็ดตัวมาแต่งตัวเป็นเอลซ่า เด็กผู้หญิงชอบเล่นหุ่นยนต์ จึงพาเด็กมาปรึกษาจิตแพทย์เด็กเพื่อประเมินและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลูก สิ่งที่หมอจิตแพทย์เด็กจะช่วยเหลือ คือการประเมินความชอบความสนใจของเด็ก เพราะเพศหลากหลายไม่ใช่ความผิดปกติแต่เป็นการแสดงออกถึงสิ่งที่เด็กชอบและสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพศที่แตกต่างกัน หากพบว่าเด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นเพศหลากหลาย จิตแพทย์เด็กจะช่วยให้ครอบครัวและสังคมของเด็กยอมรับในสิ่งที่เด็กเป็น เพื่อช่วยให้เด็กปรับตัวได้และลดการเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากการไม่ยอมรับของสังคมโดยเฉพาะครอบครัว คำถามที่พบบ่อยเราสามารถเปลี่ยนลูก LGBTQS ให้ตรงกับเพศสภาพคืนได้ไหมตอบ: เป็นเรื่องที่ยากมากและถ้าพ่อแม่ต้องการเปลี่ยน ลูกอาจจะได้รับผลกระทบทางจิตใจ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ลูกไม่กล้าเป็นตัวของตัวเองเมื่ออยู่บ้าน เกิดความเครียดการกดดัน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้พ่อแม่จะสามารถช่วยลูกอย่างไรได้บ้างตอบ: พ่อแม่เป็นคนสำคัญสำหรับเด็กกลุ่มนี้ในการช่วยให้เด็กปรับตัว และเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นได้ การที่พ่อแม่ยอมรับและเข้าใจเด็ก จะเป็นเกราะสำคัญทางจิตใจที่มั่นคง ให้เด็กปรับตัวกับสังคมภายนอกเช่น โรงเรียน ซึ่งอาจมีบางคนไม่ยอมรับ หรือ บูลลี่(รังแก)เด็กกลุ่มนี้ พ่อแม่ช่วยให้กำลัง แนะวิธีการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ความมั่นใจว่าความแตกต่างเป็นสิ่งปกติ ทุกคนสามารถมีเอกลักษณ์ของตนเองเราจะสอนเด็กๆคนอื่นให้ยอมรับความแตกต่างได้อย่างไรตอบ : เริ่มจากที่บ้านหากเด็กมีพี่น้อง ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ของเล่น หรือซื้อเสื้อผ้าให้เด็กเหมือนกัน, กิจกรรมหรือความชอบของเด็กๆไม่ต้องระบุเพศ เช่น เด็กผู้หญิง ต้องเล่นตุ๊กตา ชอบสีชมพู เล่นเป็นเจ้าหญิง ต้องไว้ผมยาว , เด็กผู้ชายต้องเล่นหุ่นยนต์ ชอบสีฟ้า เล่นเป็นเจ้าชาย ต้องไว้ผมสั้น เป็นต้น ใครชอบอะไรสนอะไรสามารถทำได้เลย พญ.ถิรพร ตั้งจิตติพรจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.พญาไท 3 https://phyathai3hospital.com/home/lgbt-child/
Tag:สุขภาวะทางเพศ, สุขภาพจิต, สิทธิทางเพศ, เพศภาวะ,