เลือกธีมสี

เยาวชน LGBTQ กับความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพจิต

GenDHL

19

0

เยาวชน LGBTQ กับความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพจิต

 

เรามักได้ยินคนพูดว่า ชอบอยู่กับเพื่อนกะเทย กะเทยตลกดี เรียกเสียงหัวเราะได้ ทั้งที่คนที่แสดงออกว่าเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวตลก หรือต้องตลกเพื่อให้อยู่ในสังคมได้ หรือการเหมารวมอื่นๆ เช่น คิดว่าทอมดี้ทุกคนชอบความรุนแรง

ภาพประกอบเคส

 

เรามักได้ยินคนพูดว่า ชอบอยู่กับเพื่อนกะเทย กะเทยตลกดี เรียกเสียงหัวเราะได้ ทั้งที่คนที่แสดงออกว่าเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวตลก หรือต้องตลกเพื่อให้อยู่ในสังคมได้ หรือการเหมารวมอื่นๆ เช่น คิดว่าทอมดี้ทุกคนชอบความรุนแรง

 

 

กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ก็เป็นเหมือนคนทั่วไป มีบุคลิกภาพที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันมีการยอมรับในเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศมากมาย แต่สังคมเปิดกว้างให้การยอมรับและเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางเพศแล้วหรือไม่

 

เยาวชนกลุ่มหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ ที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จะต้องต่อสู้กับความสับสนภายในตัวเอง ว่าแท้จริงแล้วเรามีอัตลักษณ์ทางเพศแบบไหนกันแน่ พ่อแม่และเพื่อนจะยอมรับได้หรือไม่ที่เรามีรสนิยมทางเพศแบบนี้ จะรังเกียจเราหรือไม่ พวกเขายังต้องรับมือจากการปฏิบัติจากสังคมอันจะส่งผลต่อสภาพจิตใจของเยาวชนคนนั้น ซึ่ง การสำรวจของ Trevor Project พบว่า

 

  • 1 ใน 3 ของเยาวชน LGBTQ ถูกคุกคามหรือถูกทำร้ายเนื่องจากอัตลักษณ์ทางเพศ
  • จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 40,000 คน พบว่า 46% ของกลุ่มตัวอย่างต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ฃ
  • ครึ่งหนึ่งของเยาวชน LGBTQ เคยพยายามฆ่าตัวตาย
  • 68% ของกลุ่มตัวอย่างมีอาการของโรควิตกกังวล
  • 55 % เป็นโรคซึมเศร้า

     

นอกจากนี้ยังพบว่าเยาวชน LGBTQ ถูกไล่ออกหรือหนีออกจากบ้านเนื่องจากอัตลักษณ์ทางเพศ และยังมีปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง เมื่อเยาวชน LGBTQ มากกว่า 40% ไม่กล้าไปพบจิตแพทย์ เพราะต้องขออนุญาตจากผู้ปกครอง ซึ่งในประเทศไทย มีการยื่นขอแก้กฎหมายเพื่อเพื่อนที่มีอาการซึมเศร้า (ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา เยาวชนผู้ยื่นขอแก้กฎหมาย) เนื่องจากพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 21 วรรค 3 กำหนดว่า กรณีผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ต้องให้ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอม ซึ่งจากการร่วมประชุมเรื่องการให้บริการของจิตแพทย์กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีกับกรมสุขภาพจิต ได้ข้อสรุปว่า

 

 

“คำว่า “ผู้ป่วย” ในพระราชบัญญัติสุขภาพจิต หมายถึง บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตซึ่งควรได้รับการบำบัดรักษา ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว เยาวชนที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์สามารถเข้าพบจิตแพทย์ได้โดยไม่ต้องให้ผู้ปกครองพาไป เมื่อเด็กเข้าพบจิตแพทย์แล้ว จะได้รับการบริการให้คำปรึกษา การดูแลเบื้องต้นและสามารถตรวจสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ ซึ่งคุณหมอจะประเมินในส่วนของภาวะอันตรายและเร่งด่วนในการบำบัดรักษา โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กและเก็บรักษาความลับของคนไข้เป็นสำคัญ หากจะแจ้งผู้ปกครองจะต้องแจ้งเยาวชนก่อน”

 

https://empowerliving.doctor.or.th/case/748

ความคิดเห็น

กลับ

เลขที่ 88 ถนนติวานนท์ 3 (แยก 16) ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

02 968 8019

02 968 9885

คุยกับ Gen AI