ถุงยางอนามัย อุปกรณ์ลดความเสี่ยงทั้งโรคติดต่อและการตั้งครรภ์
ถุงยางอนามัย อุปกรณ์ลดความเสี่ยงทั้งโรคติดต่อและการตั้งครรภ์ อย่างที่ทราบกันดีว่าถุงยางอนามัยเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ ซิฟิลิส หนองใน เริม หูดหงอนไก่ รวมทั้งช่วยในเรื่องของการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ส่วนใหญ่ทั่วไปมักจะพบในรูปแบบปลอก สวมองคชาต สีชมพูใส ๆ หากผู้ชายไม่ป้องกันโอกาสที่จะแพร่เชื้อโรค หรืออสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่สูงมาก แต่ปัจจุบันถุงยางอนามัยออกแบบมาเพื่อให้สุภาพสตรีใช้สำหรับป้องกันตนเองได้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มอรรถรส และสีสันของกิจกรรมทางเพศ ถุงยางอนามัยมีกี่ขนาด ควรเลือกถุงยางอนามัยที่มีขนาดพอดีกับองคชาตขณะแข็งตัว ไม่คับแน่น หรือหลวมเกินไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุ การฉีกขาด หรือหลุดเข้าไปในช่องคลอด และทวารหนักได้ ซึ่งวัดได้จากเส้นรอบวงองคชาต ไม่ใช่ความยาวเพียงอย่างเดียว 49 มิลลิเมตร เส้นรอบวงประมาณ 4 นิ้วกว่า ๆ 52 มิลลิเมตร เส้นรอบวง 5 นิ้ว 54 มิลลิเมตร เส้นรอบวงอยู่ที่ 5 นิ้วครึ่ง 56 มิลลิเมตร เส้นรอบวงองคชาต 6 นิ้วขึ้นไป ถุงยางอนามัยผู้หญิง ทำมาจากโพลียูรีเทน (Polyurethane) แตกต่างจากถุงยางอนามัยตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปที่ผลิตจากลาเทกซ์ (Latex) ลักษณะเป็นถุงที่มีวงแหวน 2 ด้าน อันที่เป็นปลายปิดจะถูกสอดเข้าไปในช่องคลอด ส่วนปลายเปิดของถุงยางจะอยู่ที่บริเวณปากทางเข้าอวัยวะเพศหญิง แม้ว่าประเทศไทยยังไม่ค่อยมีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย แต่สามารถสอบถามจากคลินิกอนามัยทางเพศ หากซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ควรตรวจสอบว่าผู้ขายเป็นเภสัชกร หรือผู้ค้าปลีกที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ถุงยางอนามัยชะลอการหลั่ง ทั่วไปมักจะเรียกว่า ถุงยางยาชา โดยด้านในบริเวณส่วนปลายจะมีสารเบนโซเคน (Benzocaine) ที่ช่วยเรื่องของอาการหลั่งเร็ว เนื่องจากปลายองคชาตมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่มาก อาจทำให้เกิดอาการการไวต่อการสัมผัสในผู้ชายบางราย แต่ปัญหานี้จะแก้ไขโดยใช้ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ได้ หากสาเหตุเกิดจากภาวะทางจิตใจ เช่น เครียด วิตกกังวล ตื่นเต้น ขณะมีเพศสัมพันธ์ เจลหล่อลื่น เป็นตัวช่วยให้กิจกรรมทางเพศราบรื่นยิ่งขึ้น ใช้ได้ทุกส่วนกับอวัยวะในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นช่องคลอด องคชาต ทวารหนัก มี 3 ชนิด แบบน้ำ ทำมาจากส่วนผสมทางธรรมชาติ เช่น ว่านหางจระเข้ ใช้กับถุงยางอนามัยได้ทุกชนิด แต่จะระเหยง่าย ต้องใช้บ่อยๆ ซิลิโคน คุณสมบัติคล้ายกับแบบแรก แต่จะระเหยยากกว่า สามารถใช้ขณะร่วมเพศในน้ำได้ และเวลาในการล้างทำความสะอาดนาน แบบน้ำมัน ลักษณะคล้ายกับชนิดที่ 2 แต่ไม่สามารถใช้กับถุงยางอนามัยที่ทำมาจากยางพาราได้ อีกทั้งจะติดเป็นคราบซักออกยากหากโดนเสื้อผ้า หรือเครื่องนอนอื่น ๆ ใส่ถุงยางอนามัย 2 ชั้น เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เพราะเพียงชั้นเดียวก็มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว ยิ่งสวมหลาย ๆ ชั้น เพื่อชะลอการหลั่งเร็ว เพิ่มขนาดอวัยวะเพศ ลดการฉีกขาด ล้วนแล้วแต่เป็นความเข้าใจผิดทั้งนั้น เพราะมีโอกาสที่ถุงยางจะหลุดเข้าไปค้างในช่องคลอดของฝ่ายหญิงมีสูง รวมทั้งทำให้ถุงเสียดสีกันจนแตกได้ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการคุมกำเนิดลดน้อยถอยลงไปอีกด้วย ถุงยางอนามัย กับ HPV หลายท่านอาจจะคุ้นเคย หรือได้ยินเกี่ยวกับเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) มักจะเกี่ยวข้องกับผู้หญิง แต่ความจริงแล้ว ไวรัสนี้มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ โดยเฉพาะ 16 และ 18 ก่อให้เกิดโรคมะเร็งที่มดลูก ช่องคอ องคชาต ทวารหนัก ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัย และฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อนี้ ทั้งผู้หญิง ชาย และกลุ่มรักร่วมเพศ จะช่วยป้องกันความรุนแรงหากติดเชื้อได้ อีกทั้งประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูง หากได้รับก่อนอายุ 26 ปี เพราะหลังจากนี้ป้องกันเฉพาะสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อนเท่านั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้มีปริมาณสารหล่อลื่นในถุงยางอนามัยอยู่ในช่วง 400–600 มิลลิกรัม ต้องการหาเพิ่มเติม ควรหลีกเลี่ยงเบบี้ออยล์ ปิโตรเลียม โลชั่น น้ำมันพืช เพราะจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมสภาพ แตกง่าย ไม่สามารถใช้คุมกำเนิด หรือป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ https://www.petcharavejhospital.com/en/Article/article_detail/Condoms-Reduce-Diseases-Pregnancy
Tag:ทางเลือกในการสืบพันธุ์, ถุงยางอนามัย,
คุยเฟื่องเรื่อง ถุงยางอนามัย
คุยเฟื่องเรื่อง “ถุงยางอนามัย” HIGHLIGHTS:ถุงยางอนามัย มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดถึง 98 % หากใช้อย่างถูกวิธีถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ HIV 70-87 % ในกลุ่มชายรักชายและมากกว่า 90 % ในกลุ่มคู่รักชายหญิงนอกจากนั้นยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม โรคตับอักเสบบี โรคหูดหงอนไก่ โรคหนองในแท้และเทียม โรคซิฟิลิส ได้ 50-90% จากข้อมูลสถิติกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี 2558-2560พบ อัตราการใช้ถุงยางอนามัยในวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 นักเรียน ม.5 ที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ใช้ถุงยางมากถึงร้อยละ 75 ในเพศชาย และร้อยละ 77 ในเพศหญิง ส่วนในนักเรียนอาชีวศึกษาชั้น ปวช.ปี 2 ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกร้อยละ 69.5 ในเพศชาย และร้อยละ 74.6 ในเพศหญิง แม้อัตราการใช้ถุงยางอนามัยในวัยรุ่นจะเพิ่มสูงขึ้น แต่การใช้อย่างสม่ำเสมอยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ด้วยเหตุผลคือ ความไว้วางใจในคู่รักที่คบกันมาระยะนึงเลยหยุดใช้ถุงยางอนามัย ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายโรค เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส หนองในแท้และเทียม หูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศและทวารหนัก เริมที่อวัยวะเพศและทวารหนัก แผลริมอ่อน เป็นต้น ถุงยางอนามัยที่เราเห็นวางขายกัน มักพบแต่ถุงยางของผู้ชายเพราะง่ายต่อการใช้และเป็นค่านิยมที่ถูกทิ้งไว้ให้แต่ฝ่ายชายที่ต้องหามาใส่ จึงทำให้ในประเทศไทยไม่ค่อยพบถุงยางของผู้หญิงวางจำหน่ายมากนัก ในบทความนี้ขอกล่าวถึงเฉพาะถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย ซึ่งสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าทางช่องคลอด ทวารหนัก (anal sex) หรือปาก (oral sex) Q: ถุงยางอนามัยมีกี่ชนิดA: ปัจจุบันมีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นคือ ชนิดที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติและจากสารสังเคราะห์ ส่วนชนิดที่ทำจากลำไส้สัตว์ ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้วชนิดที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติ (rubber condom or latex condom) ข้อดีคือ ราคาถูก ยืดหยุ่นได้ดีกว่าชนิดที่ทำจากลำไส้สัตว์ การสวมใส่กระชับรัดแนบเนื้อ สามารถใช้ได้ทั้งเพื่อการคุมกำเนิดและป้องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ข้อด้อยคือ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นประเภทที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม หรือน้ำมันหล่อลื่นผิวหนัง พวก Mineral oil ได้ เพราะจะทำให้โครงสร้างของน้ำยางเสื่อมลง ส่งผลต่อคุณภาพและการป้องกัน แต่ใช้ได้กับสารหล่อลื่นชนิดที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก (water-based lubricant)ชนิดที่ทำจาก Polyurethane หรือ Polyisoprene (ถุงยางพลาสติก) โดยแก้ไขข้อด้อยของถุงยางจากน้ำยางธรรมชาติ คือ เหนียวกว่า ทนต่อการฉีกขาด เหมาะสำหรับผู้ที่กลัวแพ้ยางพารา สามารถใช้สารหล่อลื่นที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม หรือน้ำมันหล่อลื่นผิวหนัง พวก Mineral oil ได้ และที่สำคัญคือสามารถทำให้บางได้ถึง 01 มิลลิเมตร ทำให้รู้สึกเสมือนไม่ได้ใส่อะไรเลย (feels like not wearing anything) แต่ราคาอาจสูงกว่าแบบน้ำยางพารา Q: เลือกขนาดถุงยางอนามัยอย่างไร ให้เหมาะกับตัวเรา (คุณผู้ชาย)A: ถุงยางอนามัยที่เหมาะสมกับแต่ละคน สามารถสังเกตตัวเองได้เมื่ออวัยวะเพศมีการแข็งตัวเกิดขึ้น โดยทั่วไปจะขยายได้ใหญ่กว่าเดิม 3-5 เท่า การแข็งตัวเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำเป็นลำยาวตลอดองคชาตที่เรียกว่า corpora cavernosa เริ่มเต็มไปด้วยเลือดที่ถูกสูบฉีดมาหล่อเลี้ยง เมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศการเลือกขนาดถุงยางอนามัย ควรเลือกให้พอดี ไม่หลวม หรือคับแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ฉีกขาดง่าย หรือหลุดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งขนาดของถุงยางจะแตกต่างกันไปตามแต่ละยี่ห้อ โดยวัดจากเส้นรอบวงองคชาต ไม่ใช่ความยาว เพราะถุงยางอนามัยเกือบทุกยี่ห้อ จะทำความยาวมาเท่า ๆ กัน คือประมาณ 6-7 นิ้วเท่านั้น ใครที่มีอวัยวะเพศที่ยาวกว่านี้ก็อาจไม่สามารถครอบได้หมด ถุงยางอนามัย จะบอกเส้นรอบวงเป็นมิลลิเมตร ดังนี้ถุงยางอนามัย ขนาด 49 มิลลิเมตร (เท่ากับ เส้นรอบวงองคชาต 11-12 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 5 นิ้ว)ถุงยางอนามัยขนาด 52 มิลลิเมตร (เท่ากับ เส้นรอบวงองคชาต 12-13 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 5 นิ้ว)ถุงยางอนามัย ขนาด 54 มิลลิเมตร (เท่ากับ เส้นรอบวงองคชาต 13-14 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 5 นิ้ว)ถุงยางอนามัยขนาด 56 มิลลิเมตร (เท่ากับ เส้นรอบวงองคชาต 14-15 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 6 นิ้วขึ้นไป) Q: ถุงยางอนามัยป้องกันอะไรได้บ้างA:ช่วยคุมกำเนิด ถุงยางจะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดถึง 98 % หากใช้อย่างถูกวิธีช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV 70-87 % ในกลุ่มชายรักชายและมากกว่า 90 %ในกลุ่มคู่รักชายหญิง (กลุ่มชายรักชาย ถุงยางอนามัยมีเปอร์เซ็นต์ป้องกันต่ำกว่า เนื่องจากมีการร่วมเพศทางทวารหนักเป็นหลัก ซึ่งอาจมีการฉีกขาดของทวารหนักระหว่างร่วมเพศ จึงมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ HIV มากกว่าการร่วมเพศแบบปกติของชายหญิง)ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม โรคตับอักเสบบี โรคหูดหงอนไก่ โรคหนองในแท้และเทียม โรคซิฟิลิส ได้ 50-90% Q: ถุงแตก ควรรีบแยกกันและเปลี่ยนถุงใหม่A: การแตกของถุงยางอนามัย มีได้หลายสาเหตุ แม้คู่รักบางคู่จะทราบว่าถุงยางแตก บางครั้งก็ยังมีเพศสัมพันธ์กันต่อ (อารมณ์ค้าง) แต่บางครั้งเราก็ไม่อาจทราบได้ อาจด้วยอารมณ์ขณะนั้นที่ไม่ได้ใส่ใจ หรือมีอาการมึนเมาจากแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดสาเหตุการแตกของถุงยางพบได้หลายแบบดังนี้ในกลุ่มชายรักชาย ที่ใช้ถุงยางชนิดบางมาก (น้อยกว่า 0.03 มิลลิเมตร) มีโอกาสถุงยางฉีกหรือแตกได้ หากร่วมเพศทางทวารหนักที่รุนแรงขณะใส่ถุงยาง เล็บอาจเผลอไปเกี่ยวจนรั่ว หรือ บางคู่ใช้ปากใส่ถุงยางให้คู่รัก อาจโดนฟันของอีกฝ่าย หรือเหล็กดัดฟันของผู้ที่ใช้ปากใส่ เกี่ยวโดนถุงยางขณะใส่ให้อีกฝ่ายได้ตัดซองถุงยางด้วยกรรไกร ทำให้พลาดไปโดนถุงยางโดยไม่รู้ตัวใช้สารหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสม เช่น ถุงยางที่ทำจากยางพารา หากใช้สารหล่อลื่นจำพวกปิโตรเลียม หรือน้ำมันจากพืช จะทำให้ความยืดหยุ่นและโครงสร้างของถุงยางเสื่อมลง 90% ดังนั้นหากใช้ถุงยางที่ทำจากยางพารา ควรใช้สารหล่อลื่นพวกมีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก หรือสารหล่อลื่นสูตรซิลิโคนแทน หากรู้สึกว่ามีน้ำหล่อลื่นไม่เพียงพอ ไม่เช่นนั้นอาจสังเกตที่บรรจุภัณฑ์ของสารหล่อลื่น เลือกที่เขียนบอกไว้ว่า “สามารถใช้ร่วมกับถุงยางอนามัย”ลืมบีบกระเปาะของถุงยางก่อนใส่ ทำให้มีอากาศค้างที่กระเปาะ เมื่อมีการร่วมเพศจึงอาจเกิดการแตกได้ถุงยางแน่นหรือฟิตไป ไม่พอดีกับขนาดองคชาตเก็บถุงยางไว้ในกระเป๋าเงิน หรือกระเป๋ากางเกง แล้วเกิดการนั่ง กดเบียดทับ ถุงยางหมดอายุ หรือถูกเก็บไว้ในที่ร้อน โดนแสงแดดเป็นเวลานาน ควรเก็บถุงยางอนามัยไว้ในที่เย็นและแห้ง HPV กับโรคที่ไม่ควรมองข้ามในผู้ชายเชื้อ human papillomavirus (HPV) เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 150 สายพันธุ์และสามารถติดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง การติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการและสามารถหายไปได้เอง ในบางรายมีภูมิต้านทานไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดหูดที่ผิวหนัง อวัยวะเพศ คอหอย ทวารหนัก แต่ HPV บางสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคอ (จากการใช้ปากกับอวัยวะเพศของฝ่ายตรงข้าม) มะเร็งองคชาต มะเร็งทวารหนัก เป็นต้น จากรายงานในวารสาร Journal of Lower Genital Tract Disease ปี ค.ศ. 2011 ให้รายละเอียดว่า 90% ของมะเร็งทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อ HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 และ ประมาณ 6 ใน 10 ของมะเร็งองคชาติและ 7 ใน 10 ของมะเร็งในช่องปากและลำคอมีความเกี่ยวกับของกับการติดเชื้อ HPV ด้วยเช่นกัน และกลุ่มที่เสี่ยงมากในการเกิดมะเร็งเหล่านี้คือกลุ่มชายรักชาย (Men who have sex with men) แม้การใช้ถุงยางอนามัย จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ 100% แต่การฉีดวัคซีน HPV ในเด็กชายและหญิงตั้งแต่อายุ 9 ปี จะสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่รุนแรงได้ และสามารถฉีดได้ถึงอายุ 26 ปี หากอายุเกินกว่านี้ วัคซีนจะสามารถป้องกันเฉพาะสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อนเท่านั้น ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมหากต้องการดูแลตนเองด้วยวัคซีนhttps://www.samitivejhospitals.com
Tag:ถุงยางอนามัย,
รู้หรือไม่! วัคซีน HPV ก็จำเป็นสำหรับชาว LGBTQ
รู้หรือไม่! วัคซีน HPV ก็จำเป็นสำหรับชาว LGBTQเมื่อพูดถึงวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV หรือที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีในชื่อ “วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก” หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นวัคซีนสำหรับผู้หญิงเท่านั้น ทั้งที่จริงๆ แล้วมีหลายโรคจากเชื้อไวรัสเอชพีวีที่สามารถเกิดขึ้นกับชาว LGBTQ ได้เช่นกัน เมื่อเชื้อ HPV ไม่เลือกเพศ วัคซีน HPV จึงมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งต่างๆ จากเชื้อ HPV และลดความเสี่ยงการเป็นพาหะนำเชื้อ HPV ไปสู่คู่นอนอีกด้วย สำหรับชาว LGBTQ คนไหนที่ยังไม่รู้ว่า วัคซีน HPV สำคัญกับตนเองอย่างไร? หรือไม่รู้ว่าเชื้อไวรัส HPV สามารถก่อให้เกิดโรคอะไรในกลุ่ม LGBTQ ได้บ้าง? HDmall.co.th ได้สรุปข้อมูลมาให้แล้ว สามารถอ่านได้ที่บทความนี้เลย ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV ของ LGBTQเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) หรือฮิวแมนแพพพิวโลมา (Human Papillomavirus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยจะมีประมาณ 40 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศและก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งองคชาต มะเร็งทวารหนัก รวมถึงมะเร็งช่องปากและลำคอ การติดเชื้อไวรัส HPV จะติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือช่องปาก ก็ล้วนติดเชื้อได้ทั้งหมด นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมทุกคนถึงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV และควรได้รับวัคซีน HPV เพื่อป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ในกลุ่ม LGBTQ มีอะไรบ้าง? โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ในกลุ่ม LGBTQ ก็เหมือนกับผู้ชายหรือผู้หญิงทั่วไป เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็สามารถติดเชื้อไวรัส HPV และนำไปสู่การเป็นโรคเหล่านี้ได้ 1. โรคหูดที่อวัยวะเพศโรคหูดที่อวัยวะเพศหรือที่เรียกว่า “หูดหงอนไก่” (Genital warts) เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิงโดยสาเหตุหลักของการเกิดโรคหูดที่อวัยวะเพศก็คือการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งระหว่างอวัยวะเพศชายกับช่องคลอด อวัยวะเพศชายกับทวารหนัก และทางช่องคลอดกับช่องคลอด รวมไปถึงการทำออรัลเซ็กส์จากผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HPV ด้วย 2. มะเร็งทวารหนักโรคมะเร็งทวารหนัก จัดเป็นมะเร็งที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งทวารหนัก ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่หนัก มีประวัติเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนักโดยไม่ป้องกัน 3. มะเร็งปากมดลูกโรคมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ในประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ถึงปีละประมาณ 8,200 คน ครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตภายในเวลา 5 ปี ในแต่ละวันมีหญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึงวันละ 12 คน ไวรัส HPV ชนิดก่อมะเร็ง มี14 สายพันธุ์ ทําให้เป็นโรคร้ายมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด โดยสายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึงประมาณร้อยละ 70 รองลงมาคือ สายพันธุ์ 45, 31 และ 33 4. มะเร็งช่องปากและลำคอโรคมะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก หรือการทำ Oral Sexโดยอาการของโรคมะเร็งช่องปากและลำคอ คือ มีอาการเจ็บคอเป็นเวลานาน ปวดหู เสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองบวม และน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ การตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV ในกลุ่ม LGBTQ ทำอย่างไร? การตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV ในกรณีที่เป็นผู้หญิง สามารถตรวจได้ด้วยวิธีแป๊บสเมียร์ (Pap Smear) ลิควิดเบส (Liquid Base) และ HPV DNA Test ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการส่วนกรณีที่เป็นผู้ชาย การตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV จะมีวิธีการตรวจเหมือนกับผู้หญิงเลย เพียงแต่ว่าผู้ชายจะเก็บตัวอย่างเซลล์จากบริเวณองคชาตหรือปากทวารหนักแทน วิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPVวิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ งดการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี และการฉีดวัคซีน HPV วัคซีน HPV มีกี่ชนิด?ปัจจุบัน ประเทศไทยมีวัคซีน HPV ให้เลือกฉีดทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ (Human Papillomavirus 2 - Valent Vaccine) สามารถช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง* 16 และ 18วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ (Human Papillomavirus 4 - Valent Vaccine) สามารถช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง 16 และ 18 รวมถึงสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ** 6 และ 11วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ (Human Papillomavirus 9 - Valent Vaccine) สามารถช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 รวมถึงสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ 6 และ 11*เชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง หมายถึง สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปาก และมะเร็งลำคอ** เชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ หมายถึง สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ หรือโรคหูดที่อวัยวะเพศได้สรุปเรื่องการฉีดวัคซีน HPV ในกลุ่ม LGBTQจะเห็นได้ว่า วัคซีน HPV ไม่ได้สำคัญเฉพาะผู้หญิงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือ LGBTQ ก็ล้วนมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV ได้ทั้งนั้นอีกทั้งโรคจากเชื้อไวรัส HPV ส่วนใหญ่ยังเป็นโรคในกลุ่มโรคมะเร็งที่สามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ด้วย การที่เราฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ https://hdmall.co.th/c/hdinsight-vaccine-hpv-for-lgbtq
Tag:สุขภาวะทางเพศ,
เพศสัมพันธ์ทางเลือก ทำอย่างไรให้ลดความเสี่ยงโรคร้าย
เพศสัมพันธ์ทางเลือก ทำอย่างไรให้ลดความเสี่ยงโรคร้ายเพศสัมพันธ์ทางเลือก ทำอย่างไรให้ลดความเสี่ยงโรคร้ายการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ใส่ใจป้องกันหรือไม่รู้ทันโรคภัยไข้เจ็บ นำมาซึ่งความเสี่ยงทางสุขภาพของคุณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่นิยมมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการเป็นโรคร้ายต่างๆ โรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักมีอะไรบ้างโรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักเหมือนกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั่วไประหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ตั้งแต่การติดเชื้อเอชไอวี โรคซิฟิลิสและหนองใน ในปัจจุบันมีเชื้อโรคใหม่ๆบางชนิด เช่น ไวรัสเอชพีวี (HPV: Human Papillomavirus) ที่สมัยก่อนทราบเพียงว่าทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ แต่ปัจจุบันเราพบว่าเชื้อโรคนี้ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น มะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงและมะเร็งปากทวารหนักในผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก โรคมะเร็งปากทวารหนักเป็นอย่างไรเริ่มจากการมีติ่งหรือก้อนที่ทวารหนัก บางรายอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด เจ็บก้น ซึ่งอาการใกล้เคียงกับริดสีดวง ดังนั้นหากพบติ่งหรือก้อนที่ทวารหนัก ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดมากขึ้น พบได้บ่อยหรือไม่โดยทั่วไปพบไม่เกิน 3% ของมะเร็งที่เกิดขึ้นกับคนๆหนึ่ง แต่ในกลุ่มคนที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักร่วมกับมีเชื้อเอชไอวี (HIV positive) จะทำให้อัตราเพิ่มขึ้นไปอีกถึง 30 เท่า เครื่องมือในการรักษามีอะไรบ้างในปัจจุบัน เราใช้เครื่องมือ 3 ประเภทในการรักษามะเร็งปากทวารหนัก ดังนี้ฉายแสงและให้เคมีบำบัด เป็นเครื่องมือมาตรฐานและเป็นเครื่องมือแรกในการรักษา ประมาณ 70-80% ของผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาหรือมะเร็งหายไปโดยไม่ต้องผ่าตัดการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการฉายแสงและเคมีบำบัดได้ไม่เต็มที่หรือไม่ตอบสนองเลย วิธีการผ่าตัดขึ้นอยู่กับรอยโรคที่เหลืออยู่ ถ้าเหลืออยู่พอสมควร อาจจำเป็นต้องผ่าตัดรูทวารหนักทิ้งไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยต้องมีทวารเทียมที่หน้าท้อง แต่หากรอยโรคเหลือไม่มาก แพทย์สามารถตัดรอยโรคที่เหลืออยู่และเก็บรูทวารหนักไว้ได้จะป้องกันได้อย่างไรการป้องกันหลักๆ ทำได้ดังนี้สวมถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ชัดเจนที่สุดฉีดวัคซีน HPV หรือวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกซึ่งสามารถป้องกันมะเร็งปากทวารหนักได้ แนะนำให้ฉีดทั้งผู้หญิงและผู้ชายตั้งแต่อายุ 11 ปีขึ้นไปจนถึงอายุ 45 ปีรักษาการติดเชื้อเอชไอวี สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมไม่ให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นโรคเอดส์ การกินยาต้านไวรัสยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีในระยะยาวและภาวะทวารหนักมีเซลล์ผิดปกติชนิดก่อนมะเร็ง (anal intraepithelial neoplasia) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากทวารหนักได้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากทวารหนัก โดยใช้วิธีการใกล้เคียวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือที่เรียกว่า pap smear เพียงแต่นำอุปกรณ์ตรวจเข้าทางทวารหนักแทน เพื่อเก็บตัวอย่างของเซลล์โดยใช้เวลาไม่เกิน 3-5 นาทีและใช้เวลาตรวจในห้องปฏิบัติการอีก 2 วัน หากไม่มีเซลล์ที่ผิดปกติ ควรตรวจซ้ำทุกๆปี หากพบความผิดปกติ แพทย์จะตรวจเพิ่มเติม เช่น การตัดชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันว่าเป็นความผิดปกติแบบไหน การตรวจคัดกรองทำให้มีโอกาสพบความผิดปกติของเซลล์ในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งทำให้รักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง ซึ่งทำให้การรักษามีความยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2021/sexual-health-lgbt-prevention
Tag:ชุมชนความหลากหลายทางเพศ, สุขภาวะทางเพศ,
4 โรคติดต่ออันตรายที่มากับเพศสัมพันธ์
4 โรคติดต่ออันตรายที่มากับเพศสัมพันธ์1.ซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา พาลลิดัม (Treponema pallidum) สามารถติดต่อได้ 2 ทางคือ1) จากมารดาสู่ทารก โดยมารดาที่มีเชื้อซิฟิลิสสามารถส่งเชื้อผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์และทำให้ทารกติดเชื้อหรือพิการตั้งแต่กำเนิด บางรายอาจคลอดก่อนกำหนด เกิดภาวะแท้ง หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้2) การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก ช่องปาก ทั้งนี้ บางกรณีอาจได้รับเชื้อผ่านการสัมผัสโดยตรง เช่น ท่อปัสสาวะ เยื่อบุตา รอยถลอกหรือบาดแผลที่ผิวหนัง โดยเมื่อได้รับเชื้อแล้วจะกระจายไปตามกระแสโลหิตและทำให้เกิดพยาธิสภาพได้เกือบทุกอวัยวะ อาการของผู้ที่มีเชื้อซิฟิลิสแบ่งออกเป็น 3 ระยะโดยระยะแรกจะมีแผลที่อวัยวะเพศเป็นขอบแข็ง ไม่เจ็บ เรียกว่าแผลริมแข็ง หากไม่ได้รักษาแผลจะหายเองได้ใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่โรคจะดำเนินต่อไปคือมีผื่นขึ้นตามลำตัว ฝ่ามือฝ่าเท้า อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ ปวดศีรษะ ผมร่วง หากปล่อยไว้ไม่รักษาโรคจะเข้าสู่ระยะสงบคือไม่มีอาการใด ๆ และจะทราบได้จากการตรวจเลือดเท่านั้นเมื่อเชื้อแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง น้ำไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการหลอดเลือดหัวใจอักเสบ ตาบอด หูหนวก สมองพิการ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ วิธีป้องกันการได้รับเชื้อดังกล่าวสามารถทำได้ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลซิฟิลิสของคู่นอน เข้ารับการตรวจการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ หรือไปพบแพทย์เมื่อมีความกังวลหรือสงสัยว่าตนเองติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และสตรีตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพื่อลดผลกระทบและความรุนแรงของโรค 2.โรคหนองในโรคหนองในแท้ (Gonorrhea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถรักษาได้และควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ มักแสดงอาการภายในประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ หรือบางรายอาจปรากฏอาการเมื่อผ่านไปหลายเดือน ทำให้ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาช้า อาการของโรคหนองในแท้จะแตกต่างกันไปตามเพศ ดังนี้ผู้ชายที่ติดเชื้อจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด มีหนองข้นสีเหลืองหรือเขียวไหลออกจากปลายท่อปัสสาวะ โดยอาจเกิดหลังมีเพศสัมพันธ์ เจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอักเสบ ต่อมลูกหมากอักเสบ ท่ออสุจิตีบตัน และเพิ่มโอกาสในการเป็นหมันในอนาคตอาการในผู้หญิงอาจไม่มีหรือมีน้อย เช่น ตกขาวผิดปกติ มีลักษณะเป็นน้ำหรือเส้นบาง ๆ สีออกเขียวหรือเหลือง รู้สึกเจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ หากไม่ได้รับการรักษาโรคจะลุกลามและอาจก่อให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ท่อรังไข่ตีบตัน เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมีบุตรยาก ท้องนอกมดลูก รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ การป้องกันการติดเชื้อโรคหนองในแท้สามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองในหรือคู่นอนที่มีความเสี่ยง ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อยเพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคหนองในแท้เป็นประจำทุกปี โรคหนองในเทียม (Chlamydia) เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียคลามีเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis) จากการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ติดเชื้อ อาการของโรคหนองในเทียมบางรายอาจไม่ปรากฏชัดเจน ส่วนบางรายจะแสดงอาการหลังได้รับเชื้อแล้วในระยะเวลา 1 – 3 สัปดาห์ และอาการจะแตกต่างกันตามเพศ ดังนี้อาการในผู้ชาย มักพบว่ามีอาการปัสสาวะแสบขัด มีมูกใสหรือขุ่นไหลออกจากปลายท่อปัสสาวะ เกิดการอักเสบที่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ บางรายอาจไม่มีอาการซึ่งหากไม่ได้รักษา โรคอาจลุกลามและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในลักษณะเดียวกับโรคหนองในแท้ เช่น โรคไขข้ออักเสบ โรคตาอักเสบ โรคทวารหนักอักเสบ เป็นต้นอาการในผู้หญิง ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการตะคริวหรือรู้สึกเจ็บใต้ท้องน้อย ประจำเดือนเปลี่ยนแปลง ตกขาวผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น รู้สึกเจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ เลือดออกหรือรู้สึกเจ็บระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่มีอาการเหล่านี้หรือมีความกังวลว่าตนเองติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองและบำบัดรักษาหากติดเชื้อ เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก การเป็นหมันเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับท่อรังไข่ ภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น 3.กลุ่มอาการภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์)คือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) ที่สามารถพบได้ในของเหลว เช่น เลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำนมของผู้ที่ติดเชื้อช่องทางการติดต่อที่สำคัญ ได้แก่การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีโดยไม่ป้องกันการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อการสัมผัสเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อผ่านผิวหนังที่มีแผลเปิดหรือถลอกการรับเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อทั้งขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และการให้นมทารกโดยเชื้อเอชไอวีจะทำให้ภูมิคุ้มกันของเม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลง เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อและเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ จำนวนเม็ดเลือดขาวและประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรคจะเสื่อมถอย ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้ออื่นและเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น วัณโรคและปอดบวม เป็นต้น4.โรคไวรัสตับอักเสบบีโรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการตับอักเสบเรื้อรังและมีสาเหตุการแพร่เชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัสเลือด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี โดยการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบสามารถติดต่อได้จากกลุ่มผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกายแต่ไม่แสดงอาการและมีโอกาสในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ เรียกว่า ‘พาหะ’ ซึ่งมักเป็นได้กับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีเท่านั้น สามารถแพร่เชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือเลือด เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เจ้าหน้าที่พยาบาลถูกเข็มฉีดยาที่มีเชื้อไวรัสตำมือ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้ที่ติดยาเสพติด การสัก การให้เลือด หรือแม่สู่ลูก เป็นต้น ส่วนผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนมากไม่แสดงอาการ หรือมักมีอาการเรื้อรัง เช่น รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา ปวดท้อง มีไข้ น้ำหนักลด อารมณ์แปรปรวน ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นคัน เป็นต้น และเนื่องจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการผิดปกติทำให้ไม่ทราบว่าตนเองกำลังติดเชื้อ จะทราบก็ต่อเมื่ออาการปรากฏในช่วงที่ตับได้รับความเสียหายมากแล้ว โดยหากปล่อยไว้ไม่รับการรักษาอาจส่งผลให้เกิดโรคตับแข็งได้ https://www.bangpakok3.com/care_blog/view/251
Tag:สุขภาวะทางเพศ,
การรัดหน้าอก (Chest Blinding)
การรัดหน้าอก (Chest Blinding)การรัดหน้าอกในผู้ชายข้ามเพศ หรือผู้ที่ไม่มีกรอบทางเพศ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในทางลบต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะผู้ที่วางแผนจะผ่าตัดหน้าอกในอนาคตแชร์บทความนี้การรัดหน้าอก (Chest blinding) เป็นวิธีที่เหล่าผู้ชายข้ามเพศ และผู้ที่มีเพศสภาพเป็นผู้หญิงโดยกำเนิดแต่มีจิตใจเป็นชาย นิยมใช้เพื่อทำให้หน้าอกแบนราบ เพราะสำหรับกลุ่มผู้ชายข้ามเพศ ผู้ที่ไม่มีกรอบทางเพศ (Non-binary) หน้าอกคือจุดที่แสดงอัตลักษณ์ทางเพศที่ชัดเจนมากเกินไปแม้การรัดหน้าอกจะสามารถลดความรู้สึกไม่พอใจในเพศ (Gender Dysphoria) ลงได้ แต่ก็อาจทำให้เกิดผลที่ไม่ดีต่อร่างกายได้เช่นกัน การรัดหน้าอก ทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง?การรัดหน้าอกทำได้หลายวิธี บางคนใช้วิธีพันผ้าอีลาสติก (ผ้ายืดสำหรับพันกล้ามเนื้อ) แผ่นพลาสติกรัดรอบหน้าอก ขณะที่บางคนก็เลือกใช้เครื่องแต่งกายชนิดพิเศษสำหรับรัดหน้าอกโดยเฉพาะ ซึ่งทุกคนจะมีวิธีรัดหน้าอกที่ต่างกันออกไป มีการศึกษาหนึ่งที่ทำการสำรวจผู้ที่ทำการรัดหน้าอก ได้ผลสรุปว่า พวกเขาจะมีการรัดหน้าอกเป็นเวลา 10 ชั่วโมงต่อวันโดยเฉลี่ย โดยวิธีที่คนส่วนมากใช้คือการใช้สเตย์รัดหน้าอก ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการรัดหน้าอกการรัดหน้าอกเป็นประจำ จะส่งผลต่อผิวหนัง กล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหว หากรัดหน้าอกเป็นเวลานาน และรัดอย่างแน่นหนา อาจทำให้อากาศบริเวณหน้าอกถ่ายเทไม่สะดวก ซึ่งจะทำให้เชื้อราและแบคทีเรียมีการเจริญเติบโตขึ้น นอกจากนี้ยังอาจทำให้ความสามารถในการหายใจลงได้อีกด้วยมีการศึกษา 2 ชิ้นเกี่ยวกับผู้ที่ใช้วิธีรัดหน้าอก ที่ตีพิมพ์ในปี 2017 และ 2018 โดยการศึกษาทั้งสอง เป็นการศึกษาแบบ Cross-Sectional Studies ที่ทำการสังเกตการณ์ประชากรนั้นๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง และทั้งสองการศึกษาได้ใช้ข้อมูลการตอบคำถามออนไลน์จาก 1,800 คน ซึ่งได้ข้อมูลว่า ผู้คนส่วนมาก (89-97%) เคยประสบกับอาการทางลบจากการรัดหน้าอกอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต โดยมีผลดังต่อไปนี้ 76-78% ของผู้ที่อยู่ในการศึกษานี้รายงานถึงปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ เช่นอาการกดเจ็บ แผลเป็น บวม คัน และการติดเชื้อ74-75% ของผู้ที่อยู่ในการศึกษานี้รายงานถึงอาการปวดในหน้าอก หัวไหล่ หลัง หรือท้อง51-52% ของผู้ที่อยู่ในการศึกษานี้รายงานถึงปัญหาการหายใจ47-49% ของผู้ที่อยู่ในการศึกษานี้รายงานถึงปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อลีบ หรือกระดูกซี่โครงร้าวจากการศึกษาจากปี 2017 พบว่าผู้ที่รัดหน้าอกเกือบ 9 ใน 10 คน ประสบกับผลเสียจากการใช้ที่รัดอย่างน้อย 1 ครั้ง และมี 8 ใน 10 คนที่รู้สึกว่า ควรนำประเด็นการใช้ที่รัดหน้าอกไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ แต่มีเพียง 3 จาก 20 คน (15%) ที่ได้เข้าไปพบแพทย์อย่างจริงจัง คำแนะนำในการรัดหน้าอก โดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหากคุณเป็นคนหนึ่งที่รัดหน้าอกอยู่ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวจำกัดระยะเวลาที่รัดหน้าอก ไม่สวมที่รัดนานกว่า 8-12 ชั่วโมง ไม่ควรรัดหน้าอกขณะนอนหลับพักผ่อนในช่วงเวลากลางคืน เลี่ยงการรัดหน้าอกขณะออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้หายใจได้ดีขึ้น และช่วยให้เคลื่อนไหวร่างกายสะดวกขึ้น หากคุณต้องการทำให้หน้าอกแบนราบขณะออกกำลังกาย ควรสวมใส่ชั้นในสำหรับออกกำลังกายแทน เพื่อป้องกันการอับชื้นจากเหงื่อ สวมใส่ที่รัดหน้าอกขนาดพอดี หากคุณใช้สินค้าสำหรับรัดหน้าอก พยายามใช้ขนาดเหมาะกับร่างกายของคุณ โดยไม่ควรใช้ขนาดที่เล็กเกินไป ไม่พันหน้าอกด้วยแผ่นพลาสติก เทปกาว หรือผ้าพันแผล เนื่องจากเป็นวัสดุที่อาจทำให้เกิดผลเสียกับร่างกาย เทปกาวสามารถสร้างความเสียหายให้กับผิวหนังได้ ส่วนผ้าพันแผลจะรัดแน่นมากขึ้นตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย ถ้าหากกำลังวางแผนจะผ่าตัดเอาหน้าอกออกในอนาคต ก็ไม่ควรใช้ที่รัดหน้าอกบ่อยๆ เนื่องจากจะทำให้ความยืดหยุ่นผิวหนังได้รับผลกระทบจนส่งผลต่อการผ่าตัด หากรู้สึกเจ็บปวดหรือหายใจลำบาก ให้รีบถอดที่รัดหน้าอกออก เพราะอาจหมายถึงการใช้ที่รัดแน่นเกินไปหรือใช้เป็นเวลานานเกินไป https://hd.co.th/chest-blinding
Tag:บุคลิกภาพ, การแต๊บ, การรัดหน้าอก,
แต๊บอันตรายไหม แต๊บบ่อยไปส่งผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือไม่
แต๊บอันตรายไหม แต๊บบ่อยไปส่งผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือไม่ แต๊บเป็นวิธีที่ใช้จัดแต่งบริเวณองคชาตและอัณฑะให้ดูเรียบเนียน ไร้รอยนูน โดยซ่อนไว้บริเวณช่องขาหนีบและพาดระหว่างขา ส่วนมากจะนิยมใช้ในกลุ่มหญิงข้ามเพศ (Transgender Women) และคนที่มีองคชาตที่ชื่นชอบการแต่งคอสเพลย์หรือแดร็กควีนการแต๊บสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจในการแต่งตัว ทำให้ไม่ต้องกังวลกับร่างกายของตัวเองและสายตาของคนอื่นเวลาอยู่ในที่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม การแต๊บด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสมหรือลองทำโดยไม่ศึกษาก่อน อาจก่อนให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์บริเวณจุดซ่อนเร้น เช่น อาการคัน ปัญหาผิวหนัง หรือความเสี่ยงอื่น ๆ ตามมาได้วิธีการแต๊บทำอย่างไรการแต๊บมีทั้งแบบใช้เทปและไม่ใช้เทป โดยวิธีการแต็บแบบใช้เทปทำได้ดังนี้ขั้นแรกค่อย ๆ ดันลูกอัณฑะไปยังช่องขาหนีบทีละข้าง ซึ่งขั้นตอนนี้ควรทำในท่านอนหงายเพราะจะช่วยให้ลูกอัณฑะไม่เคลื่อนไปมา จากนั้นพันเทปรอบ ๆ ถุงอัณฑะและองคชาตให้ชิดติดกัน แล้วดันทั้งหมดที่พันเทปไว้ลงไปยังระหว่างขาและก้นแล้วใช้เทปติดไว้ไม่ให้เด้งกลับมา ส่วนวิธีที่ไม่ใช้เทปก็ให้ทำแบบเดียวกัน เพียงแค่ให้สวมด้วยกางเกงชั้นในที่กระชับแน่นตัวแทนการใช้เทปพันสำหรับการปลดเทปออกควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับเทป โดยค่อย ๆ ลอกเทปออกจากถุงอัณฑะแล้วประคององคชาตกลับมาไว้ที่ตำแหน่งเดิม หากเทปติดแน่นเกินไป อาจใช้ผ้าเปียกหรือน้ำอุ่นช่วยทำให้เทปเปียกชุ่ม เพื่อให้ลอกออกได้ง่ายขึ้น ส่วนกรณีที่ไม่ได้ใช้เทปนั้นไม่ได้มีข้อควรระวังอะไรเป็นพิเศษ ให้ใช้มือประคองอัณฑะและองคชาตกลับมายังตำแหน่งเดิมอย่างเบามือ ข้อควรระวังของการแต๊บการแต๊บทั้งสองวิธีต่างกันตรงที่ แบบไม่ใช้เทปจะให้ความรู้สึกสบายตัวและทำได้ง่ายกว่า ในขณะที่แบบใช้เทปจะติดแน่นและดูเรียบเนียนกว่า แต่ข้อเสียก็คือต้องปลดเทปทุกครั้งระหว่างเข้าห้องน้ำจึงเสี่ยงต่อการระคายเคืองมากกว่า หากรู้สึกปวดหรือจุกระหว่างที่กำลังแต๊บหรือปลดอุปกรณ์ที่ใช้แต๊บ ไม่ควรฝืนทำต่อ ให้พักจนรู้สึกดีขึ้นก่อนค่อยลองทำใหม่อีกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงอาการระคายเคืองบริเวณจุดซ่อนเร้น ควรใช้เทปกาวหรือวัสดุที่ใช้กับผิวหนังได้โดยเฉพาะ หรือเลือกใช้เทปกาวทางการแพทย์ (Medical Tape) ที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้น้อยกว่า และระวังไม่ให้ขนบริเวณอวัยวะเพศติดกับเทป บางคนอาจเลือกกำจัดขนออกก่อนก็ได้เช่นกันนอกจากนี้ การแต๊บไม่แน่นพอหรือใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้อัณฑะและองคชาตหลุดออกจากตำแหน่งที่ติดไว้เหมือนกัน โดยเฉพาะกรณีที่เคลื่อนไหวร่างกายเยอะ ๆ เช่น กางเกงชั้นในหลวมไปหรือเทปกาวหลุดง่าย หรือองคชาตแข็งตัวแล้วดันกลับมา การแต๊บอันตรายไหมการแต๊บเป็นครั้งคราวอย่างถูกวิธีมักไม่ได้ทำให้รู้สึกแสบหรือเจ็บปวดแต่อย่างใด เพียงแค่อาจทำให้รู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายตัว แต่หากแต๊บไว้นาน ๆ หรือทำบ่อยจนเกินไปอาจทำให้รู้สึกเจ็บ มีผื่นคัน เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ อัณฑะอักเสบ และผิวหนังบริเวณนั้นติดเชื้อได้ นอกจากนี้ การแต๊บอาจทำให้เกิดความรู้สึกชาตรงบริเวณอวัยวะที่ถูกรัดได้หากพันเทปแน่นเกินไปจนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก และยังมีงานวิจัยบางส่วนชี้ว่าการแต๊บเป็นประจำอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตอสุจิลดลงได้ เนื่องจากการแต๊บเอาไว้ระหว่างขาหนีบทำให้อุณหภูมิภายในอัณฑะสูงขึ้น ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในการสร้างอสุจิ อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลกระทบของการแต๊บปัจจุบันยังมีไม่มากนัก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพจากการแต๊บอาจเลือกทำเฉพาะตอนที่จำเป็น และหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายตนเอง ทั้งก่อนและหลังการแต๊บ หากมีความจำเป็นต้องแต๊บเป็นประจำและกังวลกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีการป้องกันที่เหมาะสมกับตนเอง https://www.pobpad.com/แต๊บอันตรายไหม-แต๊บบ่อย
Tag:สุขภาวะทางเพศ, บุคลิกภาพ, การแต๊บ,
สาวหล่อเอย..จะบอกให้..สเตย์รัดอกอันตรายกว่าที่คิด
กลายเป็นเรื่องธรรมดาของกลุ่มสาวหล่อที่มักจะใช้ผ้ายืดประเภทต่าง ๆ สำหรับนักกีฬาใช้พันแขนขาเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อมาใช้รัดหน้าอก หรือหาซื้อสินค้าสเตย์รัดหน้าอก ที่จำหน่ายตามเว็บไซด์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เพื่อนำมารัดหน้าอกที่ไม่พึงต้องการจะมี สาวหล่อที่มีเนื้อหน้าอกมากใหญ่ ก็อาจกลายเป็นเรื่องที่รบกวนจิตใจอย่างมาก ขาดความมั่นใจและรู้สึกถึงความเป็นชายไม่เต็มร้อย ซึ่งการเลือกผ้ารัดหน้าอกและสเตย์รัดหน้าอก มาอำพรางไว้จึงเป็นทางเลือกที่ง่าย แต่ใช่ว่าผ้ารัดหน้าอกหรือสเตย์รัดหน้าอก จะมีผลดีที่เสริมสร้างความมั่นใจเท่านั้น เพราะเสียงสะท้อนของผู้ที่ใช้สเตย์รัดหน้าอก ต่างให้ความเห็นว่ามันสร้างความน่ารำคาญ ทำให้หายใจไม่สะดวก แถมยังอึดอัดอีกด้วยค่ะ สอดคล้องกับทางการแพทย์เล็งเห็นถึงอันตรายที่กำลังมาเยือนมากกว่า ความอึดอัดจากการหายใจ เพราะผ้าที่รัดหน้าอกแน่นเกินไปจะส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อ ถ้าใช้เป็นเวลานานติดต่อกันหลายวันจะรุนแรงถึงขั้นกล้ามเนื้ออักเสบได้ความร้ายแรงจะทวีคูณมากขึ้น ถ้าใช้สเตย์รัดหน้าอกกับผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งหมายถึงการเติบโตของร่างกาย และหน้าอกยังไม่สมบูรณ์เต็มพร้อม จะสุ่มเสี่ยงให้เกิดการทำลายเซลล์ต้นกำเนิดของการผลิตน้ำนมให้ออกมาน้อย และหากเซลล์ถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ๆ อาจทำให้ขนาดของหน้าอกเล็กผิดปกติหรือหน้าอกเบี้ยว ดังนั้นเมื่อเราทราบถึงอันตรายจากสเตย์รัดหน้าอกเช่นนี้แล้ว สาวหล่อที่กำลังจะหันมาใช้สเตย์รัดหน้าอกหรือกำลังใช้อยู่ ก็ควรเลิกเสียนะคะ เพราะเป็นการทำลายสุขภาพทางอ้อมแบบไม่รู้ตัวค่ะ
Tag:การรัดหน้าอก, การแต๊บ,
การรัดหน้าอกในผู้ชายข้ามเพศ
ผู้ชายข้ามเพศจำนวนมาก จึงเลือกที่จะใช้การรัดหน้าอกเพื่อทำให้หน้าอกแบนราบ ระหว่างรอค้นหาคุณหมอและสถานพยาบาลที่ใช่ และรอเก็บเงินให้เพียงพอสำหรับการผ่าตัดสำคัญที่จะเปลี่ยนชีวิต การผ่าตัดหน้าอกเป็นการผ่าตัดเพื่อการข้ามเพศประการหนึ่ง การผ่าตัดให้ได้ผลดี มีความสวยงาม ต้องอาศัยประสบการณ์ของศัลยแพทย์ และการดูแลก่อนและหลังผ่าตัดที่เหมาะสมโดยบุคลากรที่เกี่ยวข้อง แต่การผ่าตัดเพื่อการข้ามเพศ ยังไม่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากภาครัฐ ดังนั้นผู้ชายข้ามเพศจำนวนมาก จึงเลือกที่จะใช้การรัดหน้าอกเพื่อทำให้หน้าอกแบนราบ ระหว่างรอค้นหาคุณหมอและสถานพยาบาลที่ใช่ และรอเก็บเงินให้เพียงพอสำหรับการผ่าตัดสำคัญที่จะเปลี่ยนชีวิตครั้งนี้ การรัดหน้าอกเป็นเรื่องที่พบบ่อยในสังคมทั่วโลก ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ชายข้ามเพศ ผู้หญิงโดยกำเนิดก็อาจจะรัดหน้าอก เช่น ในเด็กหญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก่อนเพื่อน เมื่อนมนำเพื่อน เพื่อนล้อเพราะเห็นความแตกต่าง ก็ทำให้เด็กๆ ไม่มีความสุข (ก่อนจะเป็นสาวทันกันหมดแล้วล้อกันเรื่องนมเล็กแทน) เหมือนกับผู้ชายโดยกำเนิดบางคนที่มีโรค มีอาการ gynecomastia หรือมีหน้าอกแบบผู้หญิงการรัดหน้าอกให้ดูแบนราบ ก็จะช่วยให้หญิงชายโดยกำเนิดเหล่านี้ปลอดภัยจากการถูกทำร้ายโดยสังคมที่ไม่ยอมรับความแตกต่างได้ ข้อดีข้อเสีย ผลข้างเคียง และความเสี่ยงจาการรัดหน้าอกขึ้นอยู่กับว่ารัดแน่นมากน้อยแค่ไหน และรัดไปที่หน้าอกอย่างเดียวหรือส่งแรงกดไปบริเวณอื่นที่อาจจะได้รับอันตรายด้วยหากรัดแน่นไป อาจส่งผลให้ปวดหน้าอก ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้อง ทำให้ท่าทางผิดปกติ จากการโน้มไหล่มาด้านหน้าหรือหลังค่อมกล้ามเนื้อบางจุดอาจจะถูกรัดไม่ให้ขยับ ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบการรัดที่แน่นมากก็อาจหายใจไม่สะดวก ทำให้เหนื่อยง่าย เพราะกล้ามเนื้อหน้าอก กล้ามเนื้อซี่โครงและกระบังลมต้องทำงานหนัก ร่างกายแลกเปลี่ยนอากาศเสียออกจากกระแสเลือดไม่ทันรัดแน่นไปมากๆ บางรายอาจจะมีกระดูกซี่โครงหักได้ มีการศึกษาในชายข้ามเพศ 1800 คน พบว่ารายงานกระดูกซี่โครงหักถึง 2.8% หรือ 50 คนเลยทีเดียวในรายที่เนื้อหน้าอกใหญ่ๆ อาจจะมีปัญหาผื่นที่ผิวหนัง ความอับชื้นทำให้ติดเชื้อราได้ตามรอยพับใต้ราวนม ทำให้ร้อน คัน ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ การรัดหน้าอกที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไรสังเกตอาการที่ไม่พึงประสงค์ใดๆ แปลว่าควรต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการรัดหน้าอก แล้วลองดูว่าอาการดีขึ้นไหม ถ้าอาการไม่ดีนั้นยังอยู่ อย่าลังเลที่จะมาปรึกษาแพทย์หลีกเลี่ยงวัสดุบางอย่างที่ไม่เป็นมิตรกับผิวหนังและหน้าอกข้างใต้ เช่น การพันแน่นๆ ด้วยผ้าพันแผล, เทปซ่อมท่อประปาหรือพลาสติกห่ออาหาร หลักการสำคัญของการรัดหน้าอก เหมือนกับการใช้ยาหรือสารแปลกปลอมใดๆ คือใช้แต่น้อย เท่าที่จำเป็น และหยุดเมื่อหมดข้อบ่งชี้ การรัดหน้าอก ก็ควรรัดแค่เท่าที่จำเป็น จากการศึกษาพบว่าการให้มี "วันพัก" คือไม่รัดหน้าอกทุกวัน สัมพันธ์กับผลเสียต่อสุขภาพที่ลดลง อาจจะแนะนำง่ายๆ ดังนี้ในหนึ่งวันไม่ควรรัดเกิน 8 ชั่วโมงเมื่ออยู่บ้านไม่มีใครเห็น ควรปลดปล่อยหน้าอกออกมาหายใจบ้าง จะได้หายใจได้เต็มปอด แห้งเย็นไม่อับชื้นเมื่อผ่าตัดหน้าอกออกเป็นที่พอใจ หรือใช้ฮอร์โมนเพศชายจนหน้าอกเล็กลงบ้างแล้ว ควรลดหรืองดเว้นการรัดหน้าอก การรัดหน้าอกมีผลดีต่อสุขภาพใจ ถ้าสุขภาพใจไม่ดี สุขภาพกายก็ย่อมไม่ดี ดังนั้น สุดท้ายแล้วเราจึงต้องมาช่วยกันหาจุดสมดุลเพื่อสุขภาพของคนข้ามเพศ https://empowerliving.doctor.or.th/case/980
Tag:การรัดหน้าอก,